หน้าเว็บ

วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

หมู่บ้านช้างบ้านตากลาง สุรินทร์ กับทริปที่น่าสนใจ

หมู่บ้านช้างบ้านตากลาง สุรินทร์


ศูนย์คชศึกษา หรือ หมู่บ้านช้าง บ้านตากลาง เป็นสถานที่นักท่องเที่ยวสามารถเดินชมวิถีความเป็นอยู่ ความผูกพัน ของคนในชุมชนและช้าง รวมทั้งประเพณี และวัฒนธรรมที่น่าชื่นชมอย่างใกล้ชิด ชาวบ้านตากลาง แต่ละครัวเรือนจะมีช้างที่เลี้ยงไว้อาศัยอยู่รวมกัน จนช้างที่พวกตนเลี้ยงไว้เปรียบเสมือนเป็นส่วนหนึ่งในครอบครัวของตน ก่อให้เกิดสายใยความผูกพันที่แน่นเฟ้นขึ้น ระหว่างคนกับช้าง ณ บ้านตากลาง จ. สุรินทร์ได้ชื่อว่าเป็นหมู่บ้านช้างเลี้ยงใหญ่ที่สุดในโลก
หมู่บ้านช้าง สุรินทร์
ชาวบ้านตากลาง ดั้งเดิมเป็น ชาวส่วย (กูย) หรือ กวย ที่มีความชำนาญในการคล้องช้างป่า ฝึกหัดช้าง และเลี้ยงช้าง ส่วนมากต้องเดินทางไปคล้องช้างบริเวณชายแดนต่อเขตประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย ปัจจุบันสภาวะการเมืองระหว่างประเทศทำให้ชาวบ้านตากลาง ไม่สามารถไปคล้องช้าง เช่นแต่ก่อนได้ แต่ชาวบ้านตากลางยังคงเลี้ยงช้าง และฝึกช้างเพื่อไปร่วมแสดงในงานช้างของจังหวัดทุกปี
หมู่บ้านช้าง สุรินทร์
ลักษณะการเลี้ยงช้างของชาวบ้านตากลาง เหมือนการเลี้ยงช้างไว้เป็นเพื่อน นอนร่วมชายคาเดียวกับตน ดังนั้นถ้านักท่องเที่ยวได้ไปที่บ้านตากลาง นอกจากจะได้เห็นสภาพโรงช้างดังกล่าวแล้ว ยังจะได้สัมผัสการดำรงชีวิตของ ชาวส่วย พร้อมทั้งจะได้พบปะพูดคุยกับหมอช้าง ที่มีประสบการณ์ในการคล้องช้างมาแล้วหลายครั้งได้ตลอดเวลา รวมทั้งยังสามารถเดินทางชมจุดบริเวณที่แม่น้ำชี และแม่น้ำมูลไหลมารวมกัน ซึ่งห่างออกไปเพียง 3 กิโลเมตร มีทัศนียภาพที่งดงามน่าพักผ่อนหย่อนใจ และชวนให้ศึกษาในเชิงของธรรมชาติด้วย
หมู่บ้านช้าง สุรินทร์
ศูนย์คชศึกษา หรือ หมู่บ้านช้าง บ้านตากลาง จ.สุรินทร์ เป็นศูนย์รวมของสมาชิกช้างทั้งในบ้านกะโพ ตากลาง และจากหมูบ้านอื่น ๆ ในจังหวัดสุรินทร์มากกว่า 200 ตัว ซึ่งจัดให้เป็นวิถีชีวิตที่อยู่ในพื้นที่เดียวกันของคนกับช้างโดยมีทั้งบ้าน เรือนของชาวบ้านหรือที่เรียกว่าควานช้าง และมีที่อยู่ของช้างอยู่ทั่วบริเวณเป็นวิถีชีวิตที่น่าทึ่งมากๆ  ไม่ว่าเราจะเดินไปบริเวณไหนเราก็จะพบเห็นช้างอยู่แทบทุกที่ ซึ่งช้างแต่ละตัวก็เป็นช้างแสนรู้น่ารัก ไม่ดุร้าย  และสามารถเข้ากับคนได้ง่าย ช้างบ้านตากลางเป็นช้างบ้านที่เชื่อง นอนร่วมชายคาเรือนเดียวกันกับคน  เป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่ช้างกับคนอยู่รวมกันได้อย่างมีความสุข
หมู่บ้านช้าง สุรินทร์
โดย ศูนย์คชศึกษา หรือ หมู่บ้านช้างบ้านตากลาง มีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจดังต่อไปนี้
หมู่บ้านช้าง สุรินทร์
สนามแสดงช้างแสนรู้ จะมีการแสดงความสามารถอันเฉลียวฉลาดและน่ารักของช้างในศูนย์ฯ อาทิ ช้างเต้นรำ ช้างวาดรูป ช้างปาลูกโป่ง ช้างเตะฟุตบอล ฯลฯ โดยจะเปิดการแสดงทุกวัน วันละ ๒ รอบ คือ ๑๐.๓๐ น. และ ๑๔.๓๐ น. ไม่เว้นวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์
หมู่บ้านช้าง สุรินทร์
อาคารพิพิธภัณฑ์ เป็นสถานที่แสดงเรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวกับช้าง อาทิ วิวัฒนาการของช้าง ช้างในยุคต่างๆ โครงกระดูกช้าง โรคที่เกี่ยวข้องกับช้าง เครื่องมือในการคล้องช้าง ภาพวิธีการจับช้างในรูปแบบต่างๆ ลักษณะสำคัญของช้าง อาหารและยาสมุนไพรช้าง วิถีความผูกพันระหว่างคนกับช้าง พิธีการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับช้าง ขั้นตอนวิธีการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับช้างที่เสียชีวิต วัฒนธรรมการแต่งกายของชาวกวยหรือกูย เป็นต้น
หมู่บ้านช้าง สุรินทร์
ศาลปะกำ ที่เป็นเสมือนเทวาลัยสิงสถิตของวิญญาณบรรพบุรุษและผีปะกำ ตามความเชื่อของ ชาวกวย หรือ กูย นิยมปลูกสร้างไว้ในชุมชนคุ้มบ้าน นักท่องเที่ยวสามารถไหว้ขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์จาก ศาลปะกำ กันได้ ซึ่งเชื่อกันว่า ขอสิ่งได้ ได้สมปรารถนาดั่งที่ตั้งใจไว้
หมู่บ้านช้าง สุรินทร์
วังทะลุ ห่างจากหมู่บ้านช้างเพียง 3 กิโลเมตร ที่นี่เป็นบริเวณที่แม่น้ำมูลไหล และลำน้ำชี มาบรรจบกัน ก่อนไหลลงสู่แม่น้ำโขง ที่จังหวัดอุบลราชธานี “วังทะลุ” เป็นสายน้ำที่แวดล้อมไปด้วยป่าที่กว้างใหญ่ไพศาล ก่อให้เกิดเป็นทัศนียภาพที่งดงามซึ่งหาชมได้ยาก ยังมีความอุดมบูรณ์ทางธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพ อีกทั้งยังเป็นที่อาบน้ำของช้างในหมู่บ้านยามเย็น
หมู่บ้านช้าง สุรินทร์
การแสดงช้างที่ ศูนย์คชศึกษา หรือ หมู่บ้านช้างบ้านตากลาง จ.สุรินทร์ มีทุกวัน วันละ 2 รอบ
รอบเช้า เวลา 10.00น.
รอบบ่าย เวลา 14.00น.
ค่าเข้าชม
ผู้ใหญ่ คนละ 50 บาท
เด็กโต คนละ 20 บาท
เด็กเล็ก คนละ 10 บาท
ชาวต่างชาติ คนละ 100 บาท
หมู่บ้านช้าง สุรินทร์
นอกจากการแสดงของช้างแล้ว ยังมีการแสดงงู ภายในหมู่บ้านช้างบ้านตากลาง จ.สุรินทร์ ซึ่งการแสดงจะเริ่มหลังจากชมการแสดงของช้างแสนรู้จบลง ซึ่งเสียค่าเข้าชมการแสดงคนละ 20 บาท
หมู่บ้านช้าง สุรินทร์
การเดินทาง
การเดินทางมายัง ศูนย์คชศึกษา หรือ หมู่บ้านช้างบ้านตากลาง จากกรุงเทพใช้เส้นทาง กรุงเทพ- สระบุรี-นครราชสีมา จากนั้นใช้เส้นทางหมายเลข 2 หรือถนนมิตรภาพแล้วแยกเลี้ยวขวาเข้าทางหมายเลข 206 เส้นทาง ไป อำเภอพิมายแยกซ้ายเข้าทางหมายเลข 2175 ไปชุมพวงผ่านอำเภอแคนดง-สตึก-ชุมพลบุรี
จากชุมพลบุรี ตรงไปยัง อำเภอท่าตูม ทางหมายเลข 2018 ประมาณ 12 กิโลเมตร จะมีทางเลี้ยวขวาลัดไปยังหมู่บ้านช้างบริเวณบ้านกระสัง ไปบ้านยางบภิรมย์ แล้วตรงไปอีกประมาณ 10 กิโลเมตร ก็จะถึงหมู่บ้านช้างบ้านตากลาง เส้นทางสะดวกเป็นถนนทางลาดยางตลอดสาย และยังมีป้ายบอกตลอดการเดินทาง
แผ่นที่หมู่บ้านช้าง สุรินทร์
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมและจองการแสดงล่างหน้า ศูนย์คชศึกษา หรือ หมู่บ้านช้างบ้านตากลาง จ.สุรินทร์ โทร 044-517461  044-145050 และททท. สนง.สุรินทร์ โทร. 044-514447-8 044-518529

เรื่องเล่าขาน"มหัศจรรย์งานช้างสุรินทร์"



เรื่องเล่าขาน"มหัศจรรย์งานช้างสุรินทร์"





ศูนย์คชศึกษาหรือหมู่บ้านช้าง

       จังหวัดสุรินทร์ เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป ของนักท่องเที่ยวชาวไทย และชาวต่างประเทศในนาม “ สุรินทร์ เมืองช้าง “ สืบเนื่องมาจากสุรินทร์มีกลุ่มผู้เลี้ยงช้างที่เรียกตัวเองว่า “ กูย “หรือ “ กวย “ ซึ่งมีความชำนาญในการจับช้างมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ได้ใช้ภูมิปัญญาวิชาคชศาสตร์จับช้างเผือกซึ่งแตกโรงจากกรุงศรีอยุธยา นำน้อมเกล้าฯถวายคืนสมเด็จพระบรมราชาที่ 3 จนได้รับการโปรดเกล้าฯเป็นพระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง ปกครองเมืองสุรินทร์ตั้งแต่ พ.ศ. 2302 เป็นต้นมา และเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน นั่นคือหมู่บ้านช้างบ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ตั้งอยู่ใกล้ที่ราบริมฝั่งแม่น้ำมูลและแม่น้ำชี พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าละเมาะสลับป่าโปร่ง เหมาะแก่การเลี้ยงช้าง โคและกระบือ เป็นหมู่บ้านที่มีอาชีพเลี้ยงช้างเสริมอาชีพหลักในการทำนา ทำไร่ และเพื่อเป็นสัตว์เลี้ยงในบ้านซึ่งแต่เดิมแทบทุกหลังเรือน จะเลี้ยงช้างไว้อย่างน้อยครัวเรือนละ 1 เชือก จนเป็นที่รู้จักกันในนาม “ หมู่บ้านช้าง ”



ช้างที่อาศัยอยู่กับชาวกูยภายในหมู่บ้านช้าง

     
  นับเป็นอีกจังหวัดที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน อีกทั้งยังมีวัฒนธรรมและประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์นั้นก็คือ วัฒนธรรมของการอยู่รวมกันของคนกับช้างซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นแห่งเดียวในโลกของทางจังหวัดสุรินทร์ “ศูนย์คชศึกษา”หรือ ”หมู่บ้านช้าง “เป็นศูนย์รวมของสมาชิกชุมชนคนเลี้ยงโดยรอบและหมู่บ้านอื่นๆในจังหวัดสุรินทร์ ภายในบริเวณมีศูนย์คชศึกษามีอาคารพิพิธภัณฑ์ สถานที่แสดงเรื่องราวความรู้ต่างๆที่เกี่ยวกับช้าง จัดแสดงประเพณีและวัฒนธรรมรวมไปถึงเครื่องแต่งกายต่างๆของชาวกูย บรรพบุรุษของผู้คนจังหวัดสุรินทร์ที่มีวิถีชีวิตความผูกพันเคียงคู่ช้างตั้งแต่แสดงวิถีความผูกพันระหว่างคนกับช้างที่มีมาอย่างช้านาน ตั้งแต่เกิดจนตาย
      
       และยังมีลานจัดแสดงช้างให้นักท่องเที่ยวได้ชม ความสารถที่ชาญฉลาดของสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่มีทั้งความน่ารักและแสนรู้ ทั้งยังได้เห็นถึงการร่วมมือของคนกับช้างในการแสดงด้วยสร้างความประทับใจของผู้ชมได้ทุกรอบการแสดง ในบริเวณใกล้เคียงมีหมู่บ้านชาวกูย ให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสวิถีชิวิตการเลี้ยงช้าง และยังมีร้านขายของที่ระลึกวัตถุมงคลที่ได้จากส่วนประกอบของช้าง เช่นงาและกระดูกช้างอีกด้วย รวมถึงมีศาลประกำอันศักสิทสิทธิ์ เทวาลัยที่สิงสถิทของวิญญาณบรรพบุรุษและผีประกำ ตามความเชื่อของชาวกุย เป็นที่เก็บรักษาหนังประกำและอุปกรณ์ในการคล้องช้างเป็นสถานที่ขอพรและเสี่ยงทายของชาวกุยก่อนทำกิจกรรมนั้นๆ ศูนย์คชศึกษาตั้งอยู่ที่ ต.กระโพ-ตากลาง อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์


หนึ่งในฉากการเเสดงภายในงานเเสดงช้าง

 
      การจัดงานช้างครั้งแรก เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2503 เนื่องในโอกาสฉลองที่ว่าการอำเภอใหม่ และจัดเป็นงานประจำปีของอำเภอท่าตูม ณ บริเวณสนามบินเก่า( ปัจจุบันเป็นที่ตั้งโรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์ ) ซึ่งมี นายวินัย สุวรรณกาศ เป็นนายอำเภอในขณะนั้น ในงานมีการแสดงขบวนแห่ช้าง การแสดงการคล้องช้าง การแข่งขันช้างวิ่งเร็ว ซึ่งได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นอย่างมาก จากการจัดงานในครั้งนั้น และได้มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ทางโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ ทำให้เกิดความสนใจทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ทาง อสท. ( ในขณะนั้น ) จึงได้เข้ามาให้การสนับสนุน โดยได้ส่งเจ้าหน้าที่มาฝึกช้าง กำหนดรูปแบบการแสดงให้น่าสนใจยิ่งขึ้น ในปี พ.ศ. 2505 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติตามที่ อสท. เสนอให้การจัดงานช้างเป็น งานประจำปีของชาติ ซึ่งนายคำรณ สังขกร ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ในขณะนั้น พิจารณาเห็นว่าการจัดงานที่อำเภอท่าตูม นักท่องเที่ยวไม่สะดวกในการเดินทางไปชม จึงได้ย้ายสถานที่จัดงานจากอำเภอท่าตูมมาจัดที่สนามกีฬาจังหวัดสุรินทร์ และจัดต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ปี 2555 ถือเป็นการจัดงานเป็นปีที่ 52 ปี 2555


กิจกรรมการประกวดรถอาหารช้าง
    
   จังหวัดสุรินทร์ ได้กำหนดจัดงานช้างและกาชาดสุรินทร์ในปีนี้ ซึ่งเป็นครั้งที่ 52 ระหว่างวันที่ 14 -25 พฤศจิกายน 2555 ณ สนามศรีณรงค์ และการแสดงช้างในวันที่ 17 - 18 พฤศจิกายน 2555 ณ สนามแสดงช้างสุรินทร์ ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดสุรินทร์ ส่งเสริมสนับสนุนขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของจังหวัดสุรินทร์ และอนุรักษ์การแสดงช้างสุรินทร์ให้ยั่งยืนตลอดไป รวมทั้งให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีพิธีเปิดงานในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2555 เวลา 17.00 น. ที่บริเวณร้านธารากาชาด ณ สนามกีฬาศรีณรงค์ โดยในระหว่างในระหว่างวันที่ 14- 25 พฤศจิกายน 2555 ซึ่งเป็นงานมหัศจรรย์งานช้างสุรินทร์ มีการจัดนิทรรศการ การออกร้านของส่วนราชการ การจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ OTOP การแสดงดนตรีของศิลปินชื่อดัง และการออกร้านกาชาด
      
       ส่วนการจัดงานแสดงของช้างถือเป็นไฮไลท์ของงาน ซึ่งเป็นงานประจำปีของจังหวัดสุรินทร์ และเป็นงานประจำปีของชาติ โดยในปีนี้จัดขึ้นเป็นปีที่ 52 ตรงกับวันเสาร์ที่ 17 และวันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน 2555 ณ สนามแสดงช้าง ระหว่างเวลา 08.30 น. -11.30 น. วันละรอบ ในปีนี้ได้ปรับปรุงรูปแบบทั้งอัฒจันทร์นั่งชมที่กลมกลืนกับธรรมชาติ และการแสดงให้มีความกระชับสมบูรณ์และต่อเนื่อง แต่ยังคงความยิ่งใหญ่ตระการตาของฉากการแสดงในแต่ละฉากเหมือนดั้งเดิม อาทิ ฉากที่ 1 หรือองก์ ที่ 1 “ คชสารรวมใจ ถวายชัยองค์ราชันย์ ”เป็นการแสดงให้เห็นถึงความอลังการของช้างจังหวัดสุรินทร์ โดยจะให้ช้างเดินวนอยู่ในสนามเป็นทะเลช้างกว่า 200 เชือก และแสดงออกให้เห็นถึงการเทิดทูนและเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา 85 พรรษา โดยรวมทั้งสิ้น 7 ฉากการแสดง


กิจกรรมนั่งช้างชมเมือง
      
 นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมประกอบในช่วงการจัดงานที่หน้าเที่ยวชมและยิ่งใหญ่ พบกับกิจกรรมงานต้อนรับช้างและเลี้ยงอาหารช้างระหว่างวันที่ 15 - 16 พฤศจิกายน 2555 และกิจกรรมการประกวดรถอาหารช้างจัดขึ้นในวันที่ 15 พ.ย. เวลา 14.00 น. เป็นต้นไป จัดขบวนแห่รถอาหารช้างรอบเมืองสุรินทร์ ก่อนที่จะมารวมตัวกันที่ บริเวณอนุสาวรีย์พระยาสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวางโดยจะมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน จัดรถอาหารช้างอย่างสวยงามร่วมเข้าประกวดในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก เพื่อชิงรางวัล
      
       ปิดท้ายด้วยกิจกรรมการแสดงแสง สี เสียง “ ตำนานพันปีปราสาทศีขรภูมิ “ จัดขึ้น 2 วัน 2 รอบด้วยกันคือวันที่ 16 - 17 พ.ย. 2555 เริ่มเวลา 18.00 น. ณ บริเวณปราสาทศีขรภูมิ อ. ศีขรภูมิ จ. สุรินทร์ และกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวนั่งช้างชมเมือง หรือแท็กซี่ช้าง โดยจะมีจุดให้บริการอยู่หลายจุดเช่นสถานีรถไฟ สถานีขนส่งผู้โดยสาร ตามถนนสายหลัก และตามจุดท่องเที่ยวที่สำคัญ ซึ่งจะให้บริการทุกวันตลอดระยะเวลาการจัดงาน ก็เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเป็นอย่างมาก
       

วันเสาร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2556

แบบฝึกหัดบทที่ 3


แบบฝึกหัดบทที่ 3

จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด


1. ข้อใดเป็นความหมายที่ถูกต้องที่สุดของการรู้สารสนเทศ
     ตอบ ง. ความสามารถของบุคคลในการเข้าถึง ประเมิน และการใช้งานสารสนเทศ

2. จากกระบวนการของการรู้สารสนเทศ ทั้ง 5 ประการ ประการไหนสำคัญที่สุด
   ตอบ ก. ความสามารถในการตระหนักว่าเมื่อใดจึงจะต้องการสารสนเทศ

3. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของผู้รู้สารสนเทศ
    ตอบ ค. ชอบใช้คอมพิวเตอร์ในการเล่นเกม

4. ข้อใดไม่ใช่ความสำคัญของการรู้สารสนเทศ
    ตอบ 1. โลกมีการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก โดยเน้นวัตถุนิยมมากขึ้น

5. ข้อใด้เป็นการเรียงลำดับขั้นตอนของกระบวนการเรียนรู้สารสนเทศที่ถูกต้อง
          5. ความสามารถในการตระหนักว่าเมื่อใดจึงจะต้องการสารสนเทศ
          4. ความสามารถในการค้นหาสารสนเทศ
          1. ความสามารถในการประมวลสารสนเทศ
          2. ความสามารถในการประเมินสารสนเทศ
          3. ความสามารถในการใช้และการสื่อสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
ตอบ ค. 5-4-1-2-3

เเบบฝึกหัดบทที่1


แบบฝึกหัดบทที่ 1

จงเติมในช่องว่างว่าข้อใดเป็นข้อมูล หรือสารสนเทศ


1. ข้อมูล หมายถึง ข้อมูล ข่าวสารความรู้ เรื่องราวข้อเท็จจริงหรือปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น

2. ข้อมูลปฐมภูมิ คือ สารสนเทศที่ได้มาจากต้นแหล่งโดยตรง เป็นสารสนเทศทางวิชาการ
     ยกตัวอย่างประกอบ : วารสาร รายงานการวิจัย รายงานการประชุมและสัมนา

3. ข้อมูลทุติยภูมิ คือ สารสนเทศที่มีการรวบรวม เรียบเรียงใหม่ จากแหล่งสารสนเทศปฐมภูมิ
     ยกตัวอย่างประกอบ : วารสารที่มีการสรุปย่อและตีความ หนังสือ ตำรา

4. สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว และสามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจในชีวิตประจำวัน

5. จงอธิบายประเภทของสารสนเทศ 
การจำแนกประเภทของสารสนเทศ จำแนกโดย ตามแหล่งสารสนเทศ และตามสื่อที่จัดเก็บ
     1. สารสนเทศจำแนกตามแหล่งสารสนเทศ จำแนกตามการรวบรวมหรือจัดกระทำต่อสารสนเทศ
     2. สารสนเทศจำแนกตามสื่อที่จัดเก็บ เป็นการจำแนกสารสนเทศตามชนิดของสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ได้แก่ กระดาษ วัสดุย่อส่วน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่อแสง

6. ข้อเท็จจริงของสิ่งต่างๆที่อาจเป็นตัวเลขข้อความรูปภาพเสียง คือ ข้อมูล

7. ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลเป็น สารสนเทศ

8. ส่วนสูงของเพื่อนที่ถามจากเพื่อนแต่ละคนเป็น ข้อมูล

9. ผลของการลงทะเบียนเป็น ข้อมูล

10. กราฟแสดงจำนวนนิสิตในห้องเรียนวิชาวิชาการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน Section วันอังคารเป็น  สารสนเทศ

วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ผู้เฒ่ากูย หมิว ศาลางาม ปราชญ์หมอเมืองสุรินทร์







ผู้เฒ่ากูย หมิว ศาลางาม
ปราชญ์หมอช้างเมืองสุรินทร์
     การจับช้างป่า หรือการโพนช้าง ของหมอช้างเมืองสุรินทร์ เป็นภาพที่ผู้คนสมัยนี้อาจไม่เคยได้พบเห็น 
ไม่เคยรู้ในขั้นตอนและวิธีการต่างๆ ว่ามีความน่าสนใจและน่าศึกษาเพียงใดผู้เฒ่าหมิว ศาลางาม 
ผู้สืบทอดตำแหน่งหมอช้างรุ่นสุดท้าย ได้เล่าให้ “คนในวัฒนธรรม” ฟังเมื่อวันเปิดงาน “สยามใหม่จาก
มุมมองท้องถิ่น” วันที่ 25 พฤศจิกายน 2553 ที่ผ่านมา ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร อย่างน่าตื่นเต้น
   เพียงคำบอกกล่าวจากนักปราชญ์ผู้มากวิชาเรื่องของช้างป่า มิได้สร้างความตื่นเต้นและความใคร่รู้แก่
ผู้ฟังเพียงอย่างเดียวเท่านั้น  แต่เรื่องราวต่างๆ ยังสร้างจินตนาการให้เห็นถึงภาพความอุดมสมบูรณ์
 และความมั่งครั่งทางทรัพยากรธรรมชาติ อันได้แก่ ผืนป่า ภูเขา ลำเนาไพร และสัตว์ป่านานาชนิด
ในอดีตกาลที่ผ่านพ้น ซึ่งไม่อาจเห็นภาพจริงเหล่านั้นได้ในปัจจุบันนี้
     หมิว ศาลางาม ผู้เฒ่าวัย 85 ปี ชาวกูยอาเจียง หรือชาวกูยเลี้ยงช้าง แห่งบ้านตากลาง ตำบลกระโพ 
อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ หนึ่งในบรรดาหมอช้างเพียงไม่กี่คนที่ยังมีชีวิตอยู่ ได้บอกเล่าให้เราฟังว่า
     “การจะมาเป็นหมอช้างนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายๆ  ผู้ที่จะมาจับช้างป่าต้องเป็นผู้ที่ผ่านการศึกษาวิชาการ
จับช้างมาอย่างดี ต้องเป็นผู้ที่มีความกล้าหาญ ทรหดอดทน และมีไหวพริบ การจับช้างป่ารวมถึงการ
ใช้ชีวิตในป่าลึกเป็นเรื่องที่เสี่ยงมาก มีอันตรายอยู่รอบด้าน ทั้งจากช้างป่า หมี และเสือที่ดุร้าย
 หากความสามารถไม่เพียงพอ อาจเพรี้ยงพร้ำถึงตายได้”
     ครั้งเมื่อดินแดนภาคอีสานตกเป็นส่วนหนึ่งของสยามประเทศ ชาวกูยมีภาระที่จะต้องจับช้างป่า
ส่งให้ส่วนกลางเพื่อฝึกใช้ในการสงคราม  แหล่งที่ชาวกุยไปคล้องช้างกันมากที่สุด คือ ป่าในดินแดน
ประเทศกับพูชา (ปัจจุบันอยู่ในเขตจังหวัดอุดรมีชัย และจังหวัดกำปงธม ประเทศกับพูชา)
 เป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์มีช้างชุกชุมมาก และไม่มีข้อห้ามใดๆ ในการจับช้างในป่าแถบนี้
     ตาหมิวในวัยอายุ 15 ปี (ราว ๆ ปี 2484) ได้จับช้างเป็นครั้งแรกในตำแหน่ง “มะ” ให้กับครูบา  
ซึ่งเด็กหนุ่มขอสมัครเป็นผู้ช่วยหมอช้างที่ยังไม่ผ่านพิธีการแต่งตั้ง ผู้ทำหน้าที่ “มะ” 
จะนั่งอยู่ตอนท้ายของช้างต่อทุกเชือก ใครอายุน้อยๆ จะไม่ได้รับการคัดเลือก ต้องเป็นผู้ที่แข็งแรงพ
ที่จะยกของหนักได้เท่านั้น
     “ตอนนั้นมีช้างต่อไปด้วยกันประมาณ 50 เชือก ตาจับครั้งแรกได้ช้างป่ามา 2 ตัว ครั้งที่ 2 
ได้มาอีก 3 ตัวกลับมาครูบาใหญ่ก็ทำพิธีปะชิหรือการเลื่อนตำแหน่งให้เป็นหมอสะเดียง
 พอได้เป็นหมอสะเดียงก็ได้ไปจับช้างป่าอีก 3 ครั้ง ไปจับไกลถึงเขตป่าเขมร โน้น 
เรียกว่า “เพว็ย ซังอาด” เป็นป่าใหญ่มาก  ขบวนช้างของเราทั้งช้างต่อและช้างป่า รวมกันเป็นร้อยๆ เชือก 
 ได้ช้างป่ากลับมาอีกครั้งละหนึ่งตัว ครูบาก็เลื่อนตำแหน่งให้”
     ลำดับชั้นของหมอช้างเริ่มด้วยตำแหน่ง “มะ”  ผู้ช่วยช้างต่อ และเมื่อได้รับการแต่งตั้งจะได้เลื่อนขั้นเป็น
 “หมอจา” คือ หมอใหม่ที่ผ่านพิธีชิและได้รับการแต่งตั้งแล้วแต่ยังจับช้างไม่ได้เลย และเมื่อจับช้างได้
 1 – 5 ตัว จะได้เลื่อนขั้นเป็น “หมอสะเดียง” (หมอเบื้องซ้าย) และเมื่อจับได้เพิ่มขึ้นตั้งแต่ 6 -10 ตัว
 จะได้เลื่อนขั้นเป็น  “หมอสะดำ” (หมอเบื้องขวา) และสู่ตำแหน่งสูงขึ้น“ครูบา” คือหมอช้างที่ได้รับการ
แต่งตั้งจากครูบาใหญ่หรือกำลวง ให้เป็นหัวหน้าขบวนช้างต่อ และตำแหน่งที่สูงสุด คือ “ครูบาใหญ่”
 หรือ “กำลวงปืน” ผู้ที่สามารถจับช้างป่าได้ตั้งแต่ 15 ตัวขึ้นไป เป็นตำแหน่งหมอช้างที่ทรงเกียรติ
 และมีเพียงคนเดียวเท่านั้น ครูบาใหญ่จะเป็นผู้ที่สามารถจัดพิธีกรรมต่างๆ ได้ เป็นบุคคลที่หมอช้าง
ต่างให้ความเคารพและเชื่อฟัง
     ฟังแล้วก็คิดถึงระบบเลื่อนชั้นตำแหน่งของข้าราชการไทยเสียยิ่งกระไร ที่ท่านๆทั้งหลายมียศถา
บรรดาศักดิ์ตำแหน่งตามลำดับขั้นของประสบการณ์การทำงาน  อย่างเช่น ข้าราชผู้น้อยในระดับปฏิบัติการ
 สู่ระดับชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ ไล่ไปสู่ตำแหน่งเจ้าพ่อกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ
 นับว่ามีวิธีการที่ไม่แตกกันเท่าไหร่นัก แต่ที่สำคัญคือความเชื่อถือในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ครองตำแหน่ง
นั้นๆ เป็นสำคัญเสียยิ่งนัก
     ปัจจุบันมีเพียงผู้เฒ่าหมิว คนเดียวที่ยังคงเป็นหมอช้างในตำแหน่งหมอสะดำเท่านั้น 
เพราะหมอช้างในชั้นตำแหน่งที่สูงกว่านี้ ได้ล้มหายตายจากกันไปหมดแล้ว
     การจับช้างแต่ละครั้งครูบาใหญ่ จะมีการประชุมหมอช้างทุกคน เพื่อดูฤกษ์ยามว่าจะไปที่ไหน
 เมื่อไหร่  พร้อมทั้งการเลือกช้างต่อที่แข็งแรง ซักซ้อมข้อกำหนดต่างๆ ซึ่งการออกจับช้างป่าแต่ละครั้ง
 จะมีพิธีกรรมหลายขั้นตอน เช่น การเซ่นไหว้ผีปะกำที่ศาลปะกำของบ้านครูบา และการเสี่ยงทายจาก
กระดูกคางไก่ว่าจะมีผลสำเร็จหรือไม่ และยังมีอุปกรณ์และพิธีกรรมอีกมายที่หมอช้างจะถือปฏิบัติใน
ขนบธรรมเนียม และจารีตของคนจับช้าง
     หนังประกำ คือหนึ่งอุปกรณ์สำคัญ ในจำนวนของใช้สำหรับโพนช้างอีกกว่า 24 ชิ้น หนังประกำ
 ทำมาจากหนังกระบือสามเส้นนำมาฟั่นเป็นเกลียว ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 เซนติเมตร
 ยาว 30 – 40 เมตร ทำเป็นบวงบาศเสียบไว้ที่ปลายไม้ เรียกว่าไม้คันจาม ซึ่งใช้ในการคล้องช้าง
และดึงช้างป่าเอาไว้  ยามเมื่อใช้เสณ้จจะต้องเก็บรักษาไว้ในศาลประกำเท่านั้น
     ผู้เฒ่าหมิว ได้บอกกล่าวด้วยสีหน้าและแววตาที่เปลี่ยมไปด้วยความสุข ถึงวีรกรรมของชีวิตหมอ
ช้างว่า “ไม่มีอะไรสนุกมากกว่าไปจับช้างหรอก ขนาดงานบุญเดือนแปดว่าสำคัญ ผมยังไม่อยู่หมู่บ้านเลย 
มันอยู่ไม่ติดที่ ต้องตามครูบาไปในเขมรเพื่อจับช้างให้ได้”
     การจับช้างป่าค่อยๆ มีลดน้อยถอยลง เนื่องจากเมื่อมีการประกาศปิดชายแดนไทย-กำพูชา
 หลังกรณีพิพาทเรื่องพรมแดนระหว่างประเทศในราวปี 2500 และมีการประกาศพระราชบัญญัติ
คุ้มครองสัตว์ป่า ขึ้น  ทำให้อาชีพคล้องช้างจึงกลายเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย
     ช้างที่เคยฝึกไว้เพื่อใช้ในการสงคราม และการเป็นช้างต่อ  ได้ถูกเปลี่ยนหน้าที่มาเป็นแรงงาน
สำคัญในการทำป่าไม้ และเลี้ยงไว้เพื่อการทำงานต่างๆ ซึ่งชาวกูยอาเจียงก็เริ่มเลี้ยงช้างน้อยลง
 ทำให้การจับช้างป่าที่ปฏิบัติกันมาแต่ครั้งบุรุษมีลดน้อยลงเช่นกัน 
     ผืนป่ารอบๆ หมู่บ้านที่เคยอุดมสมบูรณ์ก็ถูกแปลเปลี่ยนเป็นผืนนา ผืนไร่ ชีวิตชาวกูยเลี้ยงช้าง
ก็กลายเป็นชาวกูยนาหรือมีอาชีพทำนาเพิ่มมากขึ้น ช้างจำนวนมากถูกขายไปเพื่อยังชีวิตคนในครอบครัว 
 พิธีกรรมที่เคยมีเกี่ยวกับการจับช้างจึงค่อย ๆ ลบเลือนหายไป
    ภาพช้างนับร้อยเชือกในขบวนแห่ของเหล่าหมอช้างที่ต่างหึกเหิม ประกอบด้วยเสียงดนตรี
ประโคมก้องและการฟ้อนรำ คือการต้อนรับและร่วมแสดงความยินดีในภารกิจสำคัญของหนุ่มชาวกูย
 ในฐานะคนจับช้างผู้ลือลั่น เป็นภาพที่ ผู้เฒ่าหมิว ศาลางาม ยังคงจำได้ไม่เคยลืม 
และยังคงมีเรี่ยวแรงเล่าขานถึงความยิ่งใหญ่ของหมอช้างผู้กล้าหาญแห่งเมืองสุรินทร์ 
ให้ชนรุ่นหลังได้ร่วมรับรู้
     วันนี้แม้นภาพอันยิ่งใหญ่ได้จบสิ้นลงแล้ว แต่การได้พบบุคคลในวัฒนธรรมผู้มากด้วยประสบการณ์
ชีวิตท่านนี้ จะเป็นอีกหนึ่งของการสืบทอดตำนาน “คนจับช้าง” ที่จะกล่าวขานสืบไป
ออกรายการ ปราชญ์เดินดิน 




ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านช้างเเละงานเเสดงช้างของจังหวัดสุรินทร์




  
ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านช้างสุรินทร์



สุรินทร์ . . . ถิ่นช้างใหญ่
จังหวัดสุรินทร์ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ห่างจากกรุงเทพมหานคร ๔๕๐ กิโลเมตร มีพื้นที่ติดกับจังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดอุดรมีชัย ราชอาณาจักรกัมพูชา โดยมีจุดผ่านแดนถาวรช่องจอม - โอร์เสม็ด เป็นเส้นทางหลักในการเดินทางท่องเที่ยว ติดต่อค้าขายกับประเทศเพื่อนบ้าน 

จังหวัดสุรินทร์ได้รับการสันนิษฐานจากนักประวัติศาสตร์ว่า พื้นที่อันเป็นที่ตั้งเมืองสุรินทร์ในปัจจุบันนี้ เดิมเคยมีชุมชนอาศัยอยู่เมื่อประมาณ ๒,๐๐๐ ปีล่วงมาแล้ว ในสมัยที่พวกขอมเรืองอำนาจ เมื่อขอมเสื่อมอำนาจลง พื้นที่แห่งนี้ได้ถูกทิ้งร้างไว้จนกลายเป็นป่าดงอยู่นาน จนกระทั่งในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย พ.ศ. ๒๒๖๐ ชาวพื้นเมืองกลุ่มหนึ่ง ที่เรียกตัวเองว่า กวย หรือ กูย ซึ่งอาศัยอยู่แถบเมืองอัตปือแสนแป แคว้นจำปาศักดิ์ ซึ่งขณะนั้นเป็นดินแดนของไทย ซึ่งเป็นผู้ที่มีความสามารถในการจับช้างป่ามาเลี้ยงไว้ใช้งานเป็นอย่างมาก ได้พากันอพยพข้ามลำน้ำโขงมาสู่ฝั่งขวาของแม่น้ำโขง โดยได้แยกย้ายกันไปตั้งชุมชนอยู่ที่บ้านเมืองลีง (อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์) บ้านโคกลำดวน (อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ) บ้านอัจจะปะนึ่ง (อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์) และบ้านกุดปะไท (อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์) โดยแต่ละบ้านจะมีหัวหน้าควบคุมอยู่ จนกระทั่งประมาณ ปี พ.ศ. ๒๓๐๐ บรรพบุรุษของชาวสุรินทร์ คือ เชียงปุม กับพวก ได้ใช้ภูมิปัญญาวิชาคชศาสตร์จับช้างเผือกแตกโรงจากกรุงศรีอยุธยา นำน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายคืนสมเด็จพระบรมราชาที่ ๓ พระที่นั่งสุริยามรินทร์ จึงได้รับบำเหน็จความชอบโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เป็น หลวงสุรินทรภักดี


   ในปี พ.ศ. ๒๓๐๖ หลวงสุรินทรภักดี หรือ เชียงปุม หัวหน้าหมู่บ้านเมืองที ได้ขอให้ เจ้าเมืองพิมาย กราบบังคมทูลขอพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ จากสมเด็จพระบรมราชาที่ ๓ พระที่นั่งสุริยามรินทร์ ย้ายหมู่บ้านจากบ้านเมืองที มาตั้งอยู่ที่บริเวณบ้านคูประทาย ซึ่งเป็นที่ตั้งเมืองสุรินทร์ในปัจจุบันนี้ เนื่องจากเห็นว่าเป็นบริเวณที่มีชัยภูมิเหมาะสม มีกำแพงค่ายคูล้อมรอบ ๒ ชั้น มีน้ำอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การประกอบอาชีพและอยู่อาศัย ต่อมาหลวงสุรินทร์ภักดี ได้กระทำความดีความชอบเป็นที่โปรดปราน สมเด็จพระบรมราชาที่ ๓ พระที่นั่งสุริยามรินทร์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ยกบ้านคูประทายเป็นเมืองประทายสมันต์ และเลื่อนบรรดาศักดิ์หลวงสุรินทร์ภักดีเป็น พระยาสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง ให้เป็นเจ้าเมืองปกครอง ในปี พ.ศ. ๒๓๒๙ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเมืองประทายสมันต์ เป็น เมืองสุรินทร์ ตามสร้อยบรรดาศักดิ์เจ้าเมืองเมืองสุรินทร์ 
จังหวัดสุรินทร์มีความภาคภูมิใจในการเป็นดินแดนที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนาน เป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงอารยธรรมขอมโบราณ และเป็นที่มาของวัฒนธรรมการทอผ้าไหมที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมาจากบรรพบุรุษ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากกัมพูชา และผ้าไหมสุรินทร์ที่กำลังมีชื่อเสียงเป็นที่สนใจอยู่ในขณะนี้ คือ ผ้าไหมยกทองโบราณ บ้านท่าสว่าง อำเภอเมืองสุรินทร์ ที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผ้าไหมที่ใช้ตัดเสื้อให้ผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค นอกจากนี้ จังหวัดสุรินทร์ยังเป็นดินแดนที่มีการปลูกข้าวหอมมะลิที่ดีที่สุดในประเทศและของโลก จนคณะรัฐมนตรีมีมติให้จังหวัดสุรินทร์เป็นจังหวัดนำร่องในเรื่องการเกษตรอินทรีย์ของประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๔

 และความภาคภูมิใจที่สำคัญที่สุด คือช้าง

จังหวัดสุรินทร์มีความเป็นมาได้ก่อร่างสร้างเมืองเกี่ยวเนื่องกับช้าง เป็นจังหวัดที่มีช้างเลี้ยงมากที่สุดในประเทศไทย คนสุรินทร์เลี้ยงช้างเป็นสมาชิกส่วนหนึ่งของครอบครัว จึงมีวิถีชีวิต มีความผูกพันระหว่างคนกับช้าง ซึ่งแตกต่างจากการเลี้ยงช้างในจังหวัดอื่น ๆ ช้างเป็นสัตว์ที่เป็นมงคล เฉลียวฉลาด ชื่อสัตย์ อดทน กล้าหาญ ในอดีตช้างเคยเป็นพาหนะของพระมหากษัตริย์ในการทำศึกสงคราม ในปัจจุบันช้างเป็นสัตว์ที่เป็นประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และการเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ เป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทย จนกระทั่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๔ ให้ช้างเป็นสัตว์ที่เป็นสัญลักษณ์ประจำชาติไทยจังหวัดสุรินทร์เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป ของนักท่องเที่ยวชาวไทย และชาวต่างประเทศในนาม “สุรินทร์ เมืองช้าง” มีงานแสดงช้างสุรินทร์เป็นงานประจำปีของชาติ มีหมู่บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม ตั้งอยู่ใกล้ที่ราบริมฝั่งแม่น้ำมูลและแม่น้ำชี พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าละเมาะสลับป่าโปร่ง เหมาะแก่การเลี้ยงช้าง และเป็นที่อาศัยของกลุ่มผู้เลี้ยงช้าง ที่เรียกตัวเองว่า “กวย” หรือ “กูย” ซึ่งมีความชำนาญในการจับช้าง ฝึกหัดช้าง และเลี้ยงช้างมาแต่ดั้งเดิม เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอดมาแต่บรรพบุรุษจนกระทั่งปัจจุบัน จนเป็นที่รู้จักในนาม “หมู่บ้านช้าง” ในอาณาบริเวณเขตตำบลกระโพมีช้างรวมกันอยู่ประมาณ ๓๐๐ เชือก

   บ้านตากลาง...ถิ่นช้างเมืองสุรินทร์หมู่บ้านช้าง บ้านตากลาง อยู่ห่างจากตัวเมืองสุรินทร์ ประมาณ ๕๘ กิโลเมตร ไปทางทิศเหนือตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๔ เส้นทางสายสุรินทร์ – ร้อยเอ็ด เลี้ยวซ้ายเมื่อถึง กม. ๓๖ เข้าปากทางบ้านกระโพ ลึกเข้าไปตามถนนลาดยางบนที่ราบใกล้แม่น้ำมูล และลำห้วยน้ำชี ระยะทางประมาณ ๒๒ กิโลเมตร ก็จะถึงเขตหมู่บ้านช้าง พื้นที่รอบ ๆ หมู่บ้านช้างส่วนใหญ่จะเป็นที่นาและป่าละเมาะสลับกลับป่าโป่ง อุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์นานาชนิด ทิศตะวันออกของหมู่บ้านเป็นป่าดงดิบสายทอ ทิศตะวันตกเป็นป่าดงดิบภูดิน ทิศเหนือของหมู่บ้านมีแม่น้ำ ๒ สายไหลมาบรรจบกัน สร้างความอุดมสมบูรณ์ให้แก่พื้นที่ดังกล่าวเป็นอย่างยิ่ง บริเวณนี้จึงเหมาะสมกับการเลี้ยงช้างอย่างที่สุด

ชาวกวยเป็นกลุ่มคนที่มีวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีมายาวนาน รักสงบ รักอิสระ มีความสามัคคี เป็นคนมีระเบียบวินัย มีเอกภาพในสังคม มีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง ความโดดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน คือความอลังการอันน่าอัศจรรย์ ผสมผสานระหว่างคนกับช้าง

ก่อนปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ ชาวกวยที่นี่จะมีอาชีพหลักคือ จับช้างป่ามาฝึกหัดไว้ใช้งาน ส่วนการทำนาจะทำเป็นอาชีพรอง คือทำเพียงแค่พออยู่พอกิน ในอดีตชาวกวยจะออกไปจับช้างปีละ ๒ – ๓ ครั้ง ๆ ละ ๒ – ๓ เดือน ซึ่งส่วนมากมักจะเดินทางไปจับในดินแดนราชอาณาจักรกัมพูชา 

    หลังจากปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ เป็นต้นมา ประเทศกัมพูชาและลาวได้ปิดพรมแดนลง ชาวกวยที่มี่อาชีพหลักคือ การจับช้างป่า ไม่สามารถไปจับช้างป่าเหมือนในอดีตได้ ก็หันมาทำการเกษตร ทำไร่ ทำนา และเลี้ยงช้างอยู่ในชุมชนอย่างมีความสุข ช้างและคนได้อยู่ด้วยกันฉันพี่น้อง มีความผูกพันกันอย่างเหนียวแน่น การเลี้ยงช้างของชาวบ้านบ้านตากลางเป็นการเลี้ยงในลักษณะที่ช้างเป็นสมาชิกส่วนหนึ่งของครอบครัว เป็นมรดกตกทอดให้ลูกหลาน คนกับช้างมีความรักใคร่ผูกพันรู้จิตใจกันดังญาติสนิท แตกต่างจากการเลี้ยงช้างที่อื่นซึ่งเป็นเพื่อการค้าและการท่องเที่ยว ช้างบ้านตากลางเป็นช้างบ้านที่เชื่อง นอนร่วมชายคาเรือนเดียวกันกับคน



     ปัจจุบันแม้ชาวบ้านตากลางจะไม่ไปจับช้างแล้ว แต่ยังมีหมอช้างที่สืบทอดภูมิปัญญาวิชาคชศาสตร์อยู่ ผู้ที่ต้องการศึกษา เรียนรู้ ท่องเที่ยว สามารถพบปะพูดคุยกับหมอช้างที่มีประสบการณ์ ในการจับช้างมาแล้วหลายครั้งได้ตลอดเวลา ชีวิตของหมอช้างเป็นชีวิตที่ต้องมีความกล้าหาญอย่างยิ่ง ชาวบ้านตากลางเป็นผู้มีความสงบเสงี่ยมสำรวม พูดน้อย ถ้าได้สนทนาด้วยแล้วจะทราบว่าเขาคือนักต่อสู้ผู้ยิ่งใหญ่ นอกจากนี้ บ้านตากลางยังเป็นสถานที่ฝึกช้างสำหรับแสดงในงานแสดงช้างของจังหวัดสุรินทร์เป็นประจำทุกปี และบ้านตากลางยังเป็นที่ตั้งของ “ศูนย์คชศึกษา” พิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับช้าง ภายใต้ศูนย์มีนิทรรศการประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน รวมถึงอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการคล้องช้าง เช่น ทำจากเชือกประกำ เชือกคล้องช้างที่ทำจากหนังควาย ฯลฯ เปิดให้นักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมได้ และช่วงที่น่าไปเยี่ยมหมู่บ้านช้างมากที่สุดคือ ช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนธันวาคมเพราะควาญช้างจะกลับมาเก็บเกี่ยวข้าว และนำช้างมาร่วมงานแสดงของจังหวัด ซึ่งจะมีช้างกลับมาอยู่บ้านเป็นจำนวนมาก

แม้ว่าในปัจจุบันสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติได้เปลี่ยนแปลงไป ป่ารอบๆ หมู่บ้านที่เคย

อุดมสมบูรณ์ในอดีต ได้เสื่อมโทรมลงตามกาลเวลา พื้นที่เลี้ยงช้างในอดีต ถูกบุกรุกจากราษฎรในพื้นที่

เข้าปลูกยูคาลิปตัส ทำให้พืชอาหารช้างลดลง จึงเป็นสาเหตุทำให้คนเลี้ยงช้างของจังหวัดสุรินทร์ ต้องนำช้างออกไปรับจ้างอยู่ตามแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ และเร่ร่อนเลี้ยงชีพอยู่ในสังคมเมือง ซึ่งเป็นที่มาของ โครงการพัฒนาหมู่บ้านช้างสุรินทร์ ซึ่งประกอบไปด้วยแผนแม่บทพัฒนาหมู่บ้านช้างเลี้ยงใหญ่ที่สุดในโลก , โครงการช้างคืนถิ่นพัฒนาสุรินทร์บ้านเกิด ฯลฯ เพื่อให้ช้างและควาญช้างได้กลับมาอยู่ที่หมู่บ้านช้าง บ้านตากลาง จังหวัดสุรินทร์ตลอดไป


อ้างอิง: http://www.surin.go.th



ประวัติ / ความเป็นมา งานช้างสุรินทร์



          ในสมัยโบราณในแถบพื้นที่ของจังหวัดสุรินทร์ มีช้างอาศัยอยู่มากมาย ขณะเดียวกันจังหวัดสุรินทร์ก็มีชาวพื้นเมืองที่มีความชำนาญในการจับช้างป่ามาฝึกหัดทำงาน เรียกว่า พวก "ส่วย"  

ชาวส่วยเป็นชาวพื้นเมืองที่กล่าวกันว่า เป็นผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษที่ได้อพยพมาจากเมืองอัตขันแสนแป ซึ่งเป็นเมืองที่อยู่ใกล้กับเมืองจำปาศักดิ์ของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวปัจจุบัน ชาวพื้นเมืองเหล่านี้เป็นเผ่าที่ชอบเลี้ยงช้าง เป็นผู้ริเริ่มในการจับช้างป่ามาฝึกเพื่อใช้งานและเป็นพาหนะเดินทางขนส่งในท้องถิ่น การไปจับช้างในป่าลึกโดยใช้ช้างต่อ เรียกว่า "โพนช้าง"ที่หมู่บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ชาวส่วยกลุ่มนี้ได้เข้าไปอยู่บนเนิน เขตรอยต่อระหว่าง ดงสายทอและดงรูดินใกล้ๆ กับบริเวณที่ลำน้ำชี้ (ชีน้อย) อันเป็นลำน้ำที่แบ่งเขตระหว่างจังหวัดสุรินทร์และจังหวัดบุรีรัมย์ และลำน้ำมูลไหลมาบรรจบกัน โดยสภาพพื้นที่ดังกล่าวในอดีตได้ตัดขาดจากโลกภายนอกเกือบสิ้นเชิง ด้วยเหตุนี้การผสมกลมกลืนกับวัฒนธรรมอื่นจึงมีน้อย ชาวส่วยเกือบทั้งหมดในเขตพื้นที่นี้ ยังมีการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี และวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมของตนเองอยู่ โดยเฉพาะการเลี้ยงช้าง เป็นอาชีพหลักที่สำคัญที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษในสมัยโบราณ ซึ่งไม่อาจสืบค้นได้ว่ามีมาตั้งแต่สมัยใด โดยชาวส่วยเหล่านี้จะพากันออกไปจับช้างในเขตประเทศกัมพูชามาฝึกให้สามารถใช้งานได้แล้วขายให้กับพ่อค้าจากภาคเหนือของประเทศไทย เพื่อนำไปลากไม้ในป่าจนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ.2502 ได้เกิดพิพาทระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชา การเดินทางไปจับช้างจึงยุติลง และในที่สุดก็ได้ยุติลงอย่างสิ้นเชิงในราวปี พ.ศ.2506 ในขณะเดียวกันชาวบ้านบางส่วนได้หันมาฝึกช้างจากการเป็นสัตว์ใช้งานมาเป็นสัตว์เลี้ยงในบ้านเช่นเดียวกับ แมวและสุนัข และฝึกสอนให้แสดงกิริยาต่างๆ เลียนแบบคน เพื่อจะได้นำไปแสดงในที่ต่างๆ แทนการขายไปทั้งตัว จนกระทั่งทางจังหวัดสุรินทร์ และองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ชื่อในขณะนั้น) ได้มองเห็นความสำคัญที่จะส่งเสริมการแสดงของช้างเป็นงานประจำปี ของจังหวัดสุรินทร์และประเทศไทยขึ้น โดยจัดเป็นประจำทุกปีตั้งแต่ พ.ศ.2504  เป็นต้นมาแต่ก่อนที่จะมีงานช้างซึ่งถือเป็นงานประจำปีของจังหวัดสุรินทร์ซึ่งได้จัดติดต่อกันมาเกือบ 40 กว่าปีล่วงมาแล้ว นายท้าว ศาลางาม หมอช้างระดับครู ขาใหญ่แห่งหมู่บ้านกระเบื้องใหญ่ อำเภอชุมพลบุรี ได้เล่าถึงความเป็นมาของงานช้างว่า.. 

          ในปี พ.ศ.2498 นั้นมีข่าวลือว่า จะมีเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์มาลงที่หมู่บ้านตากลางหรือหมู่บ้านช้างในปัจจุบัน ด้วยเหตุที่ชาวบ้านนานๆ จะได้เห็นยวดยานพาหนะประเภทรถยนต์ และเครื่องบินผ่านไปในเขตพื้นที่อันเป็นที่อยู่อาศัยของตน จึงแตกตื่นไปทั่วตำบล มีการชักชวนกันไปดูเครื่องบิน เฮลิคอปเตอร์ และเนื่องจากชาวบ้านในตำบลกระโพ เกือบทุกหมู่บ้านมีอาชีพสำคัญคือการเลี้ยงและออกจับช้างป่ามาฝึกขาย จึงมีช้างเกือบทุกครัวเรือน โดยเป็นทั้งพาหนะและสินทรัพย์ที่สำคัญของชาวบ้านแถบนั้นการเดินทางไปดูเฮลิคอปเตอร์ในครั้งนั้นจึงใช้ช้างเป็นพาหนะ

เมื่อไปถึงลานจอดเฮลิคอปเตอร์แล้วปรากฏว่ามีช้างจำนวนมากมายรวมกันแล้วนับได้ประมาณ 300 เชือก สร้างความตื่นเต้นประทับใจแก่ผู้ที่ได้พบเห็นเป็นอย่างมากจนกระทั่งในปี พ.ศ.2503 นายวินัย สุวรรณกาศ นายอำเภอท่าตูม สมัยนั้น ได้ให้นำช้างเหล่านี้มารวมตัวกันอีกครั้งหนึ่ง เพื่อร่วมแสดงในงานฉลองที่ว่าการอำเภอหลังใหม่ ณ บริเวณสนามบินเก่าท่าตูม คือ บริเวณโรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์ในปัจจุบัน การแสดงครั้งนั้นได้จัดขึ้นในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2503มีการเดินขบวนพาเหรดของช้าง การแสดงการคล้องช้าง และการแข่งขันช้างวิ่งเร็ว มีช้างเข้าร่วมในการแสดงประมาณ 60 เชือก จากการแสดงคราวนั้น ทำให้มีการประชาสัมพันธ์แพร่ภาพทั้งทางโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ เผยแพร่ไปทั่ว ทำให้เกิดความสนใจทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ทางองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ชื่อเดิมของ ททท.)จึงเสนอต่อกระทรวงมหาดไทยว่าการแสดงของช้างที่จังหวัดสุรินทร์ในครั้งนั้น นับว่าเป็นงานที่ยิ่งใหญ่มากของจังหวัด และประชาชนทั่วไปก็ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก แต่มีโอกาสหาชมได้น้อย จึงเห็นสมควรที่จะเผยแพร่งานแสดงของช้างไปสู่วงกว้าง โดยเสนอให้งานดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของงานประเพณีของจังหวัด และให้มีการจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยมีการกำหนดวันให้แน่นอนตามปฏิทินทางสุริยคติ และจัดรูปแบบงานให้มีความรัดกุมมากขึ้น เพื่อจะได้มีเวลาในการโฆษณาเชิญชวนไปยังต่างประเทศ อันเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการท่องเที่ยวของประเทศให้แพร่หลายไปด้วย

    ดังนั้น ในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2504 จังหวัดสุรินทร์จึงได้ร่วมกับองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จัดงานแสดงของช้างขึ้น เป็นงานประจำปีของจังหวัดสุรินทร์อีกครั้งหนึ่ง โดยยังคงจัดที่อำเภอท่าตูม ซึ่งอยู่ห่างจากจังหวัดสุรินทร์ไปทางทิศเหนือ ประมาณ 52 กิโลเมตร

    จากผลการจัดงานแสดงของช้างดังกล่าว ได้รับความสนใจจากชาวต่างประเทศอย่างกว้างขวาง ทางองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จึงได้รายงานเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาให้งานเสดงของช้างเป็นงานประจำปีของชาติ และคณะรัฐมนตรี ได้มีการประชุมเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2505 เป็นต้นมา งานแสดงของช้างจังหวัดสุรินทร์จึงกลายเป็นงานประจำปีของชาติ และเป็นงานประเพณีที่มีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาจังหวัดสุรินทร์จนกระทั่งปัจจุบัน





กิจกรรม / พิธี













          การแสดงของช้างมีด้วยกันทั้งหมด 8 ฉาก อาทิเช่น ชุดโขลงช้าง พิธีเซ่นผีปะกำ การโพนช้าง และการฝึกช้างป่า ช้างทำงาน และการละเล่นของช้าง ประเพณีวัฒนธรรมของส่วยหรือชนชาวกุย ขบวนช้างแห่นาค ช้างแข่งขันกีฬา ช้างเตะตะกร้อ ช้างชกมวย การประกวดช้างสวยงาม และการแสดงของช้างอื่นๆ อีกมากมาย  นอกจากการแสดงของช้างแล้วยังมีการจัดนิทรรศการ การประกวดผลผลิตทางการเกษตร การประกวดของดีเมืองสุรินทร์ การออกสลากกาชาด การออกร้านงานช้างแฟร์ ทำให้ผู้ร่วมงานครั้งนี้สนุกสนานกันถ้วนหน้า

          การแสดงของช้างเริ่มด้วยฉากแรกชื่อว่า "จ่าโขลง" แสดงให้เห็นถึงชีวิตของช้างป่าตามธรรมชาติซึ่งอยู่รวมกัน การแสดงครั้งนี้ก็จะปล่อยช้างออกมาบริเวณสนามแสดงช้างหลายสิบเชือก โดยไม่มีควาญช้างบังคับ เพื่อให้สมจริงสมจังกับการเป็นช้างป่า เมื่อมีช้างป่าชาวบ้านก็มีความต้องการที่จะจับช้างมาเลี้ยงไว้ใช้งาน แต่การจับช้างของชาวบ้านไม่ใช่อยู่ๆ ก็จับมาเลย ต้องมีการทำพิธีกันเสียก่อน ฉากต่อมาจึงมีชื่อชุดว่า "กวย" ฉากนี้แสดงให้เห็นว่าชาวบ้านต้องทำพิธีบวงสรวงเซ่นไหว้ผีปะกำ ก่อนออกไปคล้องช้างตามความเชื่อที่ว่า ช้างแต่ละเชือกมีผีปะกำดูแลอยู่ ดังนั้นหน้าบ้านของคนเลี้ยงช้างทุกบ้านจะมีศาลปะกำเพื่อไว้เป็นที่เก็บเชือกกำปะกำและเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเซ่นไหว้  โดยแสดงให้เห็นถึงการประกอบพิธีอย่างโบราณ ด้วยการให้หมอเฒ่า หรือปะกำหลวงมาแสดงให้ผู้ชมมีความรู้สึกร่วมไปด้วย แต่น่าเสียดายที่ผู้ชมกับผู้แสดงอยู่ห่างกันมาก ทำให้ไม่เห็นรายละเอียดบางอย่างอย่างใกล้ชิด เช่น การสวด สีหน้า ท่าทางของผู้ประกอบพิธี 

          เมื่อเสร็จพิธีดังกล่าวชาวบ้านก็จะออกไปคล้องช้างกันการเข้าไปคล้องช้างในป่าจะกินเวลานานถึง 2-3 เดือน ฉะนั้นผู้ที่คล้องช้างจึงต้องเป็นผู้ชาย และผู้ที่คล้องช้างได้ก็จะเป็นที่ยอมรับนับถือในความเป็นชายเป็นเกียรติแก่วงศ์ตระกูล เป็นที่หมายปองแก่บรรดาสาวๆ และที่สำคัญช้างเชือกหนึ่งมีราคาไม่ใช่น้อย ดังนั้น การคล้องช้างได้ถือเป็นการยกฐานะของคนที่คล้องช้างได้ไปในตัวด้วย

ฉากต่อมาชื่อชุดว่า "จากป่าสู่บ้าน" เป็นการแสดงให้เห็นถึงวิธีการคล้องช้าง ผู้ชำนาญจะคล้องช้างที่เป็นแม่ลูกอ่อน เพราะถ้าหากคล้องลูกช้างได้ก็เหมือนกับได้ตัวแม่ด้วย ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าแม่ช้างจะห่วงลูกน้อยทำให้ไม่ยอมไปไหน การแสดงฉากนี้คนก็ลุ้นอยากให้คนคล้องช้างได้ หลายคนก็ลุ้นให้ช้างหลุดรอดไปได้ ซึ่งคนดูทุกคนจะตื่นเต้นสนุกสนาน การแสดงฉากนี้ดูเหมือนว่าจะคล้องช้างไม่ได้เสียมากกว่า เพราะช้างที่แสดงเป็นช้างบ้านที่ฉลาด ได้รับการฝึกฝนมาแล้วจึงรู้วิธีหลบหลีกเป็นอย่างดี คนที่ลุ้นให้ช้างรอดก็โล่งใจกันเป็นแถว

"สร้างบ้าน แปงเมือง" เป็นการแสดงในฉากต่อมา โดยนำช้างออกมาแสดงความสามารถทั้งการใช้งาน เช่น การลากซุง และการแสดงตามคำสั่งต่างๆ ซึ่งก็น่ารัก น่าเอ็นดู เพราะช้างตัวใหญ่อุ้ยอ้ายการที่จะต้องมาแสดงท่าทางเลียนแบบคน ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ไม่ว่าจะเป็นลูกช้างไต่ราว การให้ช้างนั่งบนถังในท่านั่งเหมือนคนหรือเดินสองขาเหมือนคน 

ในขณะที่การแสดงของช้างดำเนินอยู่ ก็จะมีเด็กๆ ทั้งผู้หญิงผู้ชายแต่งกายชุดพื้นบ้านมาแสดงการละเล่นของเด็กในสมัยก่อนที่มักจะหาของเล่นจากวัสดุในท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นเดินกะลา ล้อไม้ ม้าก้านกล้วย เดินโทงเทง ซึ่งหาดูได้ยากในปัจจุบัน

แต่ที่น่าชมและชอบใจของคนดูทั้งสนามก็คงจะเป็นช้างชกมวย ไม่ใช่ช้างชกกับช้าง แต่เป็นช้างกับคน โดยเขาจะใส่นวมที่งวงช้างเพื่อให้ชกแทนการใช้มืออย่างคน การชกเป็นไปอย่างดุเดือดเพราะแต่ละหมัด(งวง) ของช้างหนักหน่วง จนทำให้คนต้องลงไปนอนให้กรรมการนับหลายครั้ง และก็ปรากฏว่าช้างชนะน็อคไปตามระเบียบ ดัวยหมัดฮุคอย่างรุนแรง เป็นที่สนุกสนานเฮฮาของคนดู  

        หลังจากการแสดงอันแสนรู้ของช้างผ่านไปแล้ว ก็เป็นการแสดงคนในชื่อชุดว่า "ประเพณี" เป็นการแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมประเพณีของชาวสุรินทร์ คือ การแสดงเรืออันเร และการแห่บั้งไฟ   การแสดงเรืออันเร ประกอบด้วยดนตรีพื้นบ้านคือ กันตรึม การรำคล้ายกับการรำลาวกระทบไม้ การแห่บั้งไฟ เป็นประเพณีของชาวอีสานที่แห่บูชาพญาแถนเพื่อขอฝน ขบวนแห่ในวันนั้นมีการจัดไว้อย่างสวยงาม มีผู้ร่วมขบวนนับร้อย ทุกคนล้วนแต่งกายสีสันสดใสด้วยผ้าพื้นเมือง ฝีมือการทอของชาวบ้านเอง

การบวชนาค เป็นอีกฉากหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของช้าง เพราะคหบดีในสมัยก่อนนิยมใช้ช้างร่วมแห่นำในขบวนแห่นาค และการแห่นาคที่จังหวัดสุรินทร์จะต่างจากที่อื่นตรงที่นิยมให้มีการรำมวยไทยนำหน้าขบวนแห่นาค และมีวงมโหรีอยู่บนหลังช้าง ปิดขบวนด้วยระนาด ฆ้อง ปี่ และตะโพน เมื่อบวชนาคแล้วต้องมีการฉลองพระใหม่ ก็ได้มีการแสดงชื่อชุดว่า "ฉลองพระ" ซึ่งสมัยก่อนการฉลองพระเป็นการแข่งขันและเล่นเกมของคน แต่ต่อมาใช้ช้างเล่นแทน ซึ่งก็ให้ความสนุกสนานไม่แพ้คนเล่นเอง

การแข่งขันของช้างมีหลายเกม คือ ช้างวิ่งแข่ง ช้างเตะฟุตบอล ช้างเก็บของ สิ่งเหล่านี้จะแสดงให้เห็นว่า  ช้างเชือกไหนฉลาดและเชื่อฟังคำสั่งของควาญช้าง โดยเฉพาะเขาวางน้ำอัดลม แตงโม กระติ๊บข้าว กล้วย ช้างบางเชือกก็เก็บของเหล่านี้ให้ควาญช้างทั้งหมด แต่ก็มีบางเชือกเก็บเข้าปากตัวเอง เพราะของที่เก็บไม่ว่าจะเป็นกล้วยหรือแตงโม ล้วนแต่เป็นของโปรดของช้างทั้งนั้น ซึ่งก็สร้างความครื้นเครงให้กับคนดูพอสมควรในความเจ้าเล่ห์ของช้างบางเชือก

ที่สนุกสนานที่สุดเห็นจะเป็นตอนช้างเตะฟุตบอล ซึ่งแบ่งช้างออกเป็น 2 ทีม มีฟุตบอลขนาดใหญ่ เหมาะสมกับตัวของช้างมาเตะกันจริงๆ เกมการแข่งขันจะดูวุ่นวาย เพราะช้างบางตัวขี้โกงใช้งวงอุ้มลูกฟุตบอล แทนที่จะเตะฟุตบอล สร้างความขบขันให้กับคนดูเป็นอย่างมาก

และการแสดงที่ยิ่งใหญ่ตระการตาก็มาถึง ในฉากที่ชื่อว่า "บารมีปกเกล้า" ฉากนี้แสดงให้เห็นถึงขบวนพยุหยาตราทัพ อันเป็นแสนยานุภาพพระมหากษัตริย์ที่ทรงปกป้องบ้านเมืองให้อยู่เย็นเป็นสุขในอดีต ซึ่งมีช้างเป็นกำลังสำคัญในการแสดงแสนยานุภาพนั้น ฉากนี้นับเป็นฉากที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ประกอบด้วยผู้แสดงนับพัน การแต่งกายก็สมจริง ทำให้เป็นที่ตื่นตาตื่นใจกับนักท่องเที่ยวที่เข้าชมเป็นอย่างยิ่ง





งานแสดงช้างประจำปี จังหวัดสุรินทร์



     ประวัติของงานช้างเริ่มขึ้นครั้งแรก ในวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ.2503 อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านช้างได้มีการจัดงานฉลองที่ว่าการอำเภอใหม่ และนายอำเภอในขณะนั้นได้เชิญชวนให้ชาวกูยที่มีอาชีพเลี้ยงช้างได้นำช้างของ ตนมาจัดแสดงและจัดขบวนแห่ช้างให้ประชาชนทั่วไปได้ชม ซึ่งได้รับความสนใจจากประชาชนทั่วไปอย่างมาก และกลางคืนจะมีมหรสพสมโภชตลอดคืน และได้กลายเป็นงานช้างประจำปีของจังหวัดสุรินทร์ และโด่งดังไปทั่วโลก งานช้างจังหวัดสุรินทร์จัดขึ้นประมาณกลางเดือน พฤศจิกายนของทุกปีและมีงานกาชาดจังหวัดจัดแสดงประมาณ 1 สปดาห์ ส่วนงานแสดงช้างจะเป็นช่วงวันเสาร์และอาทิตย์



งานเลี้ยงอาหารช้าง การเซ่นไหว้ จ.สุรินทร์



 



    เยี่ยมชมหมู่บ้านช้างชาวกูย หมู่ที่ 9 และ หมู่ 13 บ.ตากลาง ต.กระโพ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ อยู่ห่างจากจังหวัดสุรินทร์ไปทางเหนือตามทางหลวงหมายเลข 214 (ถนนสุรินทร์-ร้อยเอ็ด) ผ่านอำเภอจอมพระ วิ่งมาเรื่อยก่อนถึงอำเภอท่าตูม มีทางแยกซ้ายมือบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 36 ให้ไปตามทางราดยางอีกประมาณ 22 กิโลเมตร จะมีป้ายบอกหมู่บ้านช้างชาวกูยยินดีต้อนรับ

อ้างอิง :http://www.thaibizcenter.com